การพัฒนาชุดการเรียนรู้และการปฏิบัติ เรื่อง ดนตรีพื้นเมือง วงสะล้อ ซึง ขลุ่ย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดย นางดวงแก้ว เทพสุวรรณ
บทคัดย่อ
การรายงานผลการพัฒนาชุดการเรียนรู้และการปฏิบัติ เรื่อง ดนตรีพื้นเมือง วงสะล้อ ซึง ขลุ่ย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้และการปฏิบัติ เรื่อง ดนตรีพื้นเมือง วงสะล้อ ซึง ขลุ่ย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนโดยใช้ ชุดการเรียนรู้และการปฏิบัติ เรื่อง ดนตรีพื้นเมือง วงสะล้อ ซึง ขลุ่ย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้และการปฏิบัติ เรื่อง ดนตรีพื้นเมือง วงสะล้อ ซึง ขลุ่ย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 15 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ชุดการเรียนรู้และการปฏิบัติ เรื่อง ดนตรีพื้นเมือง วงสะล้อ ซึง ขลุ่ย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ ชุดการเรียนรู้และการปฏิบัติ เรื่อง ดนตรีพื้นเมือง วงสะล้อ ซึง ขลุ่ย
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า
1. ประสิทธิภาพของการพัฒนาชุดการเรียนรู้และการปฏิบัติ เรื่อง ดนตรีพื้นเมือง วงสะล้อ ซึง ขลุ่ย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นทั้ง 7 ชุด มีประสิทธิภาพเฉลี่ยเท่ากับ 84.48 / 86.38 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 และเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการเรียนรู้และการปฏิบัติ เรื่อง ดนตรีพื้นเมือง วงสะล้อ ซึง ขลุ่ย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ร้อยละ 20.13
3. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดการเรียนรู้และการปฏิบัติ เรื่อง ดนตรีพื้นเมือง วงสะล้อ ซึง ขลุ่ย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.32